ประเพณีตักบาตรเทโว ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ"



  "เทโวโรหณะ"
 

ประเพณีตักบาตรเทโวเป็นคำย่อมา จาก"เทโวโรหณะ"หมายถึงการเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤท์,พาราณสี,เมืองสาวัตถีตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่ง เป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธบิดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนาง สิริมหามายาซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ 7 วัน ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งมีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม

ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในวันที่เรียกว่าวันเทโวโรหณะ พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับ มายังโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองสังกัสสะ ในกาลครั้งนั้นชาวเมืองสังกัดนคร ต่างพากันชื่นชมยินดี พากันมารอรับพระพุทธองค์เป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์เสด็จออกรับบาตร มีประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น  และทรงแสดงธรรมเทศนาเป็นที่อิ่มใจแก่ชาวเมืองเป็นที่ยิ่ง ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับวันเทศกาลออกพรรษา ที่มีความเป็นมาสัมพันธ์กับการเสด็จกลับคืนสู่โลกมนุษย์ของพระพุทธเจ้า จังหวัดอุทัยธานีมีภูเขาใหญ่อยู่ใจกลางเมือง ภาพของพระภิกษุสงฆ์ที่ทยอยเดินลงจากยอดเขามารับบาตรจากผู้คนคลาคล่ำ เป็นแถวเป็นแนว สีกาสาวพัสตร์ยาวเหยียดงดงามน่าเลื่อมใสเป็นยิ่งนัก


ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ เป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว" และมีชื่อเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง ๓ โลกนั้นเอง


การตักบาตรเทโวนี้ เป็นประเพณีใหม่ที่เข้ามาในล้านนาไทย เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช 2500 เป็นต้นมา พระสงฆ์และประชาชนได้ลัทธิประเพณีมาจากไทยภาคกลาง นำมาจัดทำกันในล้านนา ที่จัดประเพณีอย่างยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาร่วมงานกันมาก นิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนถึง 500 รูป มารับบิณฑบาต

การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคนลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับพุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าวอาหารหวานคาวมา เรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระจึงใช้ข้าวก่อหรือปั้นโยนลงบาตร

ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา


การจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะ มีประวัติที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คุณธรรมและวัฒนธรรมหลายด้าน ดังต่อไปนี้

๑. เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์หลักฐานในพระไตรปิฎก ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวคือ สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ในวันแรม1ค่ำเดือน11คือวันออก พรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาใน เทวโลกนั้น ยังมีหลักฐานปรากฎที่สังกัสสะนคร ประเทศอินเดีย และสถานที่ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ก่อนเสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์ ก็มีหลักฐานชัดเจนที่เขตกรุงสาวัตถี อินเดีย การจัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะจึงเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์วันที่พระ พุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก

๒. เป็นการส่งเสริมสามัคคีธรรม คือ การทำบุญร่วมกันระหว่างคณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษากับประชาชนทั่วไป

๓. ก่อให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปไม้สักแกะสลัก คือ พระพุทธเทโวโรหณะศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุอันล้ำค่า และมีคุณค่าทางศิลปกรรมยิ่งนัก เนื่องจากสร้างจากไม้สักทั้งต้น และลงรักปิดทองเหลืองอร่าม ตั้งแต่พระเมาลีจนถึงพระแท่นบัวคว่ำบัวหงาย ตลอดจนพระหัตถ์และบาตรเป็นไม้สักท่อนเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร โดยจำลองพระพักตร์จากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย