ประเพณีตักบาตรเทโว ย่อมาจาก "เทโวโรหณะ"



  "เทโวโรหณะ"
 

ประเพณีตักบาตรเทโวเป็นคำย่อมา จาก"เทโวโรหณะ"หมายถึงการเสด็จลงจากเทวโลกของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามตำนานเล่าว่าเมื่อพระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วได้ เสด็จไปประกาศพระศาสนาในแคว้นทั่วชมพูทวีป เริ่มตั้งแต่เมืองราชคฤท์,พาราณสี,เมืองสาวัตถีตลอดถึงเมืองกบิลพัสดุ์ซึ่ง เป็นราชปิตุภูมิของพระองค์ทรงเทศนาโปรดพระเจ้าสุทโธทนะ, พระพุทธบิดา, พระนางมหาปชาบดีโคตมี, พระนางยโสธราพิมพา และราหุลราชกุมาร ตลอดถึงพระประยูรญาติทั้งหลาย ให้บรรลุมรรคผลตามสมควรแก่อุปนิสัยของตนแล้ว พระองค์ทรงรำลึกถึงพระนาง สิริมหามายาซึ่งได้สิ้นพระชนม์หลังจากพระองค์ประสูติได้ 7 วัน ทรงดำริที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา ซึ่งมีพระคุณมากมายยิ่งนัก จะหาอะไรเปรียบปานมิได้ ทรงวินิจฉัยโดยรอบคอบแล้ว เห็นว่ามีสิ่งเดียวเท่านั้นที่จะสนองคุณพระพุทธมารดา เป็นการใช้หนี้ค่าน้ำนมให้คู่ควรกันได้ นั่นคือ พระอภิธรรม

ฉะนั้นในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้ววันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ในวันที่เรียกว่าวันเทโวโรหณะ พระพุทธเจ้าจึงได้เสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาประทับ มายังโลกมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง ที่เมืองสังกัสสะ ในกาลครั้งนั้นชาวเมืองสังกัดนคร ต่างพากันชื่นชมยินดี พากันมารอรับพระพุทธองค์เป็นจำนวนมาก พระพุทธองค์เสด็จออกรับบาตร มีประชาชนไปเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อทำบุญตักบาตรอย่างหนาแน่น  และทรงแสดงธรรมเทศนาเป็นที่อิ่มใจแก่ชาวเมืองเป็นที่ยิ่ง ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัดอุทัยธานี เป็นงานประเพณีอันเกี่ยวเนื่องกับวันเทศกาลออกพรรษา ที่มีความเป็นมาสัมพันธ์กับการเสด็จกลับคืนสู่โลกมนุษย์ของพระพุทธเจ้า จังหวัดอุทัยธานีมีภูเขาใหญ่อยู่ใจกลางเมือง ภาพของพระภิกษุสงฆ์ที่ทยอยเดินลงจากยอดเขามารับบาตรจากผู้คนคลาคล่ำ เป็นแถวเป็นแนว สีกาสาวพัสตร์ยาวเหยียดงดงามน่าเลื่อมใสเป็นยิ่งนัก


ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงถือว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากเทวโลกลงมาสู่เมืองมนุษย์ จึงนิยมตักบาตรกันเป็นพิเศษ เป็นประเพณีสืบต่อกันมาจนถึงทุกวันนี้ เรียกว่า "ตักบาตรเทโว" และมีชื่อเรียกวันนี้อีกชื่อหนึ่งว่า วันพระเจ้าเปิดโลก คือ เปิดให้เห็น กันทั้ง ๓ โลกนั้นเอง


การตักบาตรเทโวนี้ เป็นประเพณีใหม่ที่เข้ามาในล้านนาไทย เริ่มตั้งแต่พุทธศักราช 2500 เป็นต้นมา พระสงฆ์และประชาชนได้ลัทธิประเพณีมาจากไทยภาคกลาง นำมาจัดทำกันในล้านนา ที่จัดประเพณีอย่างยิ่งใหญ่ มีผู้คนมาร่วมงานกันมาก นิมนต์พระสงฆ์เป็นจำนวนถึง 500 รูป มารับบิณฑบาต

การตักบาตรเทโวนี้ บางวัดทำในวันออกพรรษา คือวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ บางวัดก็ทำในวันรุ่งขึ้น คือวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ทั้งนี้ แล้วแต่ความตกลงร่วมใจทั้งทางวัดและทางบ้าน พิธีที่ทำนั้นทางวัดอัญเชิญพระพุทธรูปประดิษฐานในบุษบก ซึ่งตั้งอยู่บนล้อเลื่อนหรือคานหาม มีบาตรขนาดใหญ่ใบหนึ่งตั้งไว้หน้าพระพุทธรูป มีคนลากล้อเลื่อนไปช้า ๆ นำหน้าพระสงฆ์ สามเณร ซึ่งถือบาตรเดินเรียงไปตามลำดับพุทธศาสนิกชนต่างก็นำข้าวอาหารหวานคาวมา เรียงรายกันอยู่เป็นแถวตามแนวทางที่รถบุษบกเคลื่อนผ่าน คอยตักบาตร อาหารที่นิยมตักในวันนั้น นอกจากข้าวและอาหารคาวหวาน ธรรมดาแล้วก็จะมีข้าวต้มลูกโยนด้วย ซึ่งบางท่านสันนิษฐานว่าในครั้งนั้นผู้คนรอใส่บาตรกันแออัดมาก เข้าไม่ถึงพระจึงใช้ข้าวก่อหรือปั้นโยนลงบาตร

ประเพณีการตักบาตรเทโวนี้ เนื่องมาจากการเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา เมื่อมีเหตุการณ์อะไรปรากฏในตำนาน ก็จะปรารภเหตุนั้นๆ เพื่อบำเพ็ญบุญกุศลเช่นการถวายทาน รักษาศีล เป็นต้น ตักบาตรเทโวจึงเป็นการทำบุญอย่างมโหฬารของพุทธศาสนิกชน นับแต่นั้นมา


การจัดงานตักบาตรเทโวโรหณะ มีประวัติที่น่าสนใจและมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คุณธรรมและวัฒนธรรมหลายด้าน ดังต่อไปนี้

๑. เป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์หลักฐานในพระไตรปิฎก ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี กล่าวคือ สถานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ในวันแรม1ค่ำเดือน11คือวันออก พรรษาและวันตักบาตรเทโวโรหณะ หลังจากพระพุทธองค์ทรงแสดงความกตัญญูกตเวทีเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาใน เทวโลกนั้น ยังมีหลักฐานปรากฎที่สังกัสสะนคร ประเทศอินเดีย และสถานที่ทรงแสดงยมกปาฏิหารย์ก่อนเสด็จขึ้นไปยังดาวดึงส์ ก็มีหลักฐานชัดเจนที่เขตกรุงสาวัตถี อินเดีย การจัดประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะจึงเป็นการฟื้นฟูและอนุรักษ์วันที่พระ พุทธองค์เสด็จลงจากดาวดึงส์เทวโลก

๒. เป็นการส่งเสริมสามัคคีธรรม คือ การทำบุญร่วมกันระหว่างคณาจารย์ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ นักศึกษากับประชาชนทั่วไป

๓. ก่อให้เกิดการสร้างพระพุทธรูปไม้สักแกะสลัก คือ พระพุทธเทโวโรหณะศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุอันล้ำค่า และมีคุณค่าทางศิลปกรรมยิ่งนัก เนื่องจากสร้างจากไม้สักทั้งต้น และลงรักปิดทองเหลืองอร่าม ตั้งแต่พระเมาลีจนถึงพระแท่นบัวคว่ำบัวหงาย ตลอดจนพระหัตถ์และบาตรเป็นไม้สักท่อนเดียวกัน เป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร โดยจำลองพระพักตร์จากพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย 

ประวัติวันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา

ประวัติวันออกพรรษา

วันออกพรรษา
วันออกพรรษา หรือ วันปวารณาออกพรรษา เป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาวันหนึ่งในประเทศไทย วันออกพรรษา คือ วันที่สิ้นสุดระยะการจำพรรษาเป็นเวลา 3 เดือน (นับตั้งแต่วันเข้าพรรษา) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันมหาปวารณา” คำว่า “ปวารณา” แปลว่า “อนุญาต” หรือ “ยอมให้” ใน วันออกพรรษา นี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่า มหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วยซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (ประมาณเดือนตุลาคม) หลังวันเข้าพรรษา 3 เดือน ตามปฏิทินจันทรคติไทย

สำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ “สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ” มีความหมายว่า ข้า แต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้วจักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจา สังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้ และวันถัดจาก วันออกพรรษา 1 วัน (แรม 1 ค่ำ เดือน 11) พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังนิยมไปทำบุญตักบาตรครั้งใหญ่ เรียกว่า ตักบาตรเทโว หรือ ตักบาตรเทโวโรหนะ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในพุทธประวัติที่กล่าวว่า ในวันถัด วันออกพรรษา หนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้เสด็จลงจากเทวโลกกลับจากการโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ในพรรษาที่ 7 เพื่อลงมายังเมืองสังกัสสนคร พร้อมกับทรงแสดงโลกวิวรณปาฏิหาริย์เปิดโลกทั้งสามด้วย
วันออกพรรษา

กิจกรรมในวันออกพรรษา

วันออกพรรษา นี้พุทธศาสนิกชนถือว่าเป็นโอกาศอันดีที่จะกระทำ การบำเพ็ญกุศล เช่น ทำบุญตักบาตร จัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาพระที่วัดและฟังพระธรรมเทศนา ของที่ชาวพุทธนิยมนำไปใส่บาตรในวันนี้ก็คือ ข้าวต้มมัดไต้ และข้าวต้มลูกโยน และการร่วมกุศล “ตักบาตรเทโว” ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11
1. ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ
2. ไปวัดเพื่อปฏิบัติธรรม ฟังพระธรรมเทศนา
3. ร่วมกิจกรรม “ตักบาตรเทโว” (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11)
4. ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและประดับธงชาติ และธงธรรมจักร ตามวัดและสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
5. ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับ วันออกพรรษา เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

กิจกรรม ประเพณีวันออกพรรษา ของไทย

1. ประเพณีออกพรรษา แห่ปราสาทผึ้ง และการแข่งขันเรือยาว จังหวัด สกลนคร
2. ประเพณีปอยเหลินสิบเอ็ด จังหวัด แม่ฮ่องสอน
3. ประเพณีตักบาตรเทโว จังหวัด อุทัยธานี
4. ประเพณีบุญแห่กระธูป จังหวัด ชัยภูมิ
5. ประเพณีชักพระ ทอดพระป่า และแข่งขันเรือยาว จังหวัดสุราษฎร์ธานี
6. งานเทศกาลออกพรรษาบั้งไฟพญานาค จังหวัด หนองคาย
7. ประเพณีลอยผาสาด ดารดาษนทีโขง จังหวัด เลย
8. เทศกาลงานบุญออกพรรษา จังหวัดมุกดาหาร
9. ทำบุญตักบาตรสองแผ่นดิน เหนือสุดในสยาม จังหวัด เชียงราย
10. งานประเพณีลากพระและมหกรรมวัฒนธรรมสัมพันธ์ จังหวัดตรัง
11. ประเพณีแข่งโพนลากพระ จังหวัด พัทลุง

วันมหาปวารณา (วันออกพรรษา)



กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับครอบครัว
1. วันออกพรรษา ครอบครัวจะช่วยกันทำความสะอาดบ้าน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร จัดแต่งโต๊ะหมู่บูชาพระประจำบ้าน
2. ศึกษาเอกสารและ สนทนาเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา และแนวทางปฏิบัติในครอบครัว
3. ครอบครัวจะร่วมกับบำเพ็ญบุญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทานร่วมกันในวันออกพรรษา
4. ปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไวห้พระสวดมนต์ร่วมกัน เนื่องในวันออกพรรษา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับสถานศึกษา
1. ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เนื่องในวันออกพรรษา
2. ครูและ นักเรียนร่วมกันให้ความรู้ ความเข้าใจถึง ความสำคัญของวันออกพรรษา ทั้งหลักธรรม และการปฏิบัติตนในวันออกพรรษา
3. จัดกิจกรรม นิทรรศการ ประกวดเรียงความ สมุดภาพ ตอบปัญหาธรรม บรรยายธรรม เนื่องในวันออกพรรษา
4. จัดกิจกรรมร่วมกันกับชุมชนที่วัด บำเพ็ญกุศลทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังธรรม พัฒนาพื้นที่สาธารณะ และวัด และกิจกรรมอื่นๆ ที่เหมาะสมในวันออกพรรษา
กิจกรรมที่เกี่ยวข้องในวันออกพรรษา กับสถานที่ทำงาน
1. ทำความสะอาดบริเวณที่ทำงาน และประดับธงชาติ ธงธรรมจักร เนื่องในวันออกพรรษา
2. ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษ และการปฏิบัติตนเนื่องในวันออกพรรษา
3. ร่วมกันบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ปลูกต้นไม้ บริจาคโลหิต
4. หน่วยงานให้โอกาสผู้ร่วมงานบำเพ็ญกุศลตามประเพณีนิยม ในกรณีวันหยุด และเป็นวันออกพรรษา
วันออกพรรษา
ประโยชน์จะได้รับจากวันออกพรรษา
1. พุทธศาสนิกชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของวันออกพรรษา รวมทั้งหลักธรรม เรื่องปวารณา และแนวทางปฏิบัติ
2. พุทธศาสนิกชนเกิดเจตคติที่ดีต่อวันออกพรรษา และเห็นคุณค่าของการดำเนินชีวิตตามหลักธรรม คือ ปวารณา
3. พุทธศาสนิกชนเกิดศรัทธา ซาบซึ้ง และตระหนักในความสำคัญของพระพุทธศาสนา
4. พุทธศาสนิกชนเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีรู้จักปฏิบัติตนตามหน้าที่ชาวพุทธได้อย่างถูกต้อง

ขอบคุณข้อมูล : วันออกพรรษา (http://th.wikipedia.org/wiki/วันออกพรรษา)

ขอเชิญร่วม # ประเพณีการทอดกฐิน ประจำปี พ.ศ. 2557




%   เกร็ดความรู้เรื่อง " ประเพณีการทอดกฐิน "

**ประเพณีการทอดกฐิน**

     ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน

กฐินแปลว่าอะไร?
 
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะ ช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน เป็นต้นว่า พระสารีบุตรพระมหาโมคคัลลานะพระมหากัสสปะแม้สมเด็จพระบรมศาสดาก็เสด็จลงมา ช่วย ภิกษุสามเณรอื่น ๆ ก็ช่วยขวนขวายในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)

ผู้ประสงค์จะทอดกฐินจะทำอย่างไร

พุทธศาสนิกชนทั่วไป ย่อมถือกันว่า การทำบุญทอดกฐินเป็นกุศลแรง เพราะเป็นกาลทาน ทำได้เพียงปีละ 1 ครั้งและต้องทำในกำหนดเวลาที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ ดังนั้นถ้ามีความเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐินบ้างแล้ว พึ่งปฏิบัติดังต่อไปนี้
จองกฐิน เมื่อจะไปจองกฐิน ณ วัดใด พอเข้าพรรษาแล้ว พึงไปมนัสการสมภารเจ้าอาวาสวัดนั้น กราบเรียนแก่ท่านว่าตนมีความประสงค์จะขอทอดกฐิน แล้วเขียนหนังสือปิดประกาศไว้ ณ วัดนั้น เพื่อให้รู้ทั่ว ๆ กัน การที่ต้องไปจองก่อนแต่เนิ่น ๆ ก็เพื่อให้ได้ทอดวัดที่ตนต้องการ หากมิเช่นนั้นอาจมีผู้อื่นไปจองก่อน นี้กล่าวสำหรับวัดราษฎร์ ซึ่งราษฎรมีสิทธิจองได้ทุกวัด แต่ถ้าวัดนั้นเป็นวัดหลวง อันมีธรรมเนียมว่าต้องได้รับกฐินหลวงแล้ว ทายกนั้น ครั้นกราบเรียนเจ้าอาวาสท่านแล้ว ต้องทำหนังสือยื่นต่อกองสัมฆการีกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ขอเป็นกฐินพระราชทาน ครั้นคำอนุญาตตกไปถึงแล้ว จึงจะจองได้
เตรียมการ ครั้นจองกฐินเรียบร้อยแล้ว เมื่อออกพรรษาแล้ว จะทอดกฐินในวันใด ก็กำหนดให้แน่นอน แล้วกราบเรียนให้เจ้าอาวาสวัดท่านทราบวันกำหนดนั้น ถ้าเป็นอย่างชนบท สมภารเจ้าวัด ก็บอกติดต่อกับชาวบ้านว่าวันนั้นว่านี้เป็นวันทอดกฐิน ให้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดหาอาหารไว้เลี้ยงพระ และเลี้ยงผู้มาในการทอดกฐิน
ครั้นกำหนดวันทอดกฐินแล้ว ก็เตรียมจัดหาเครื่องผ้ากฐิน คือไตรจีวร พร้อมทั้งเครื่องบริขารอื่น ๆ ตามแต่มีศรัทธามากน้อย (ถ้าจัดเต็มที่มักมี 3 ไตร คือ องค์ครอง 1 ไตร คู่สวดองค์ละ 1 ไตร)
วันงาน พิธีทอดกฐินเป็นบุญใหญ่ดังกล่าวมาแล้ว ดังนั้น โดยมากจึงจัดงานเป็น 2 วัน วันต้นตั้งองค์พระกฐินที่บ้านของเจ้าภาพก็ได้ จะไปตั้งที่วัดก็ได้ กลางคืนมีการมหรสพครึกครื้นสนุกสนาน ญาติพี่น้องและมิตรสหายก็มักจะมาร่วมอนุโมทนา รุ่งขึ้นเป็นที่วัดทอด ถ้าไปทางบก ก็มีแห่ทางขบวนรถหรือเดินขบวนกันไป มีแตรวงหรืออื่น ๆ เป็นการครึกครื้น ถ้าไปทางเรือก็มีแห่งทางขบวนเรือสนุกสนาน โดยมากมักแห่ไปตอนเช้า และเลี้ยงพระเพล การทอดกฐิน จะทอดในตอนเช้านั้นก็ได้ ทอดเพลแล้วก็ได้ สุดแล้วแต่สะดวก การเลี้ยงพระ ถ้าเป็นอย่างในชนบท ชาวบ้านจัดภัตตาหารเลี้ยงด้วย เจ้าของงานกฐินก็จัดไปด้วย อาหารมากมายเหลือเฟือ แม้ข้อนี้ ก็สุดแต่กาละเทศะแห่งท้องถิ่น
อนึ่ง ถ้าตั้งองค์กฐินในวัดที่จะทอดนั้น เช่น ในชนบทตอนเย็น ก็แห่งองค์พระกฐินไปตั้งที่วัด กลางคืนมีการฉลองรุ่งขึ้น เลี้ยงพระเช้าแล้ว ทอดกฐิน ถวายภัตตาหารเพล
การถวายผ้ากฐิน การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริขารอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้

พิธีกรานกฐิน
พิธิกรานกฐินเป็นพิธีฝ่ายภิกษุสงฆ์โดยเฉพาะคือภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินนั้น นำผ้ากฐินไปทำ เป็นไตรจีวรผืนใดผืนหนึ่ง เย็บ ย้อม แห้ง เรียบร้อยดีแล้ว เคาะระฆัง ประชุมกันในโรงพระอุโบสถ ภิกษุผู้รับผ้ากฐิน ถอนผ้าเก่าอธิษฐานผ้าใหม่ที่ตนได้รับนั้นเข้าชุดเป็นไตรจีวร เสร็จแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ขึ้นสู่ธรรมาสน์แสดงพระธรรมเทศนา กล่าวคือเรื่องประวัติกฐินและอานิสงส์ครั้งแล้วภิกษุผู้รับผ้ากฐิน นั่งคุกเข่าตั้งนะโม 3 จบ แล้วเปล่งวาจาในท่ามกลางชุมนุมนั้น ตามลักษณะผ้าที่กรานดังนี้
ถ้าเป็นผ้าสังฆาฏิ เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมายสงฺฆาฏิยา กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่า ข้าพเจ้ากรานกฐินด้วยผ้าสัมฆาฎินี้ (ในเวลาว่านั้นไม่ต้องว่าคำแปลนี้) 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอุตตราสงค์เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินาอุตฺตราสงฺเคน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าจ้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอุตตราสงค์นี้ 3 จบ
ถ้าเป็นผ้าอันตรวาสก (สบง) เปล่งวาจากรานกฐินว่า "อิมินา อนฺตรวาสเกน กฐินํ อตฺถรามิ" แปลว่าข้าพเจ้ากรานกฐิน ด้วยผ้าอันครวาสกนี้ 3 จบ
ลำดับนั้น สงฆ์นั่งคุกเข่าพร้อมกันแล้วกรานพระ 3 หนเสร็จแล้ว ตั้งนโมพร้อมกัน 3 จบ แล้วท่านผู้ได้รับผ้ากฐินหันหน้ามายังกลุ่มภิกษุสงษ์ กล่าวคำอนุโมทนาประกาศดังนี้
"อตฺถตํ อาวุโส สงฺฆสฺส กฐินํ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบ (แปลว่า อาวุโส! กฐินสงฆ์กราบแล้ว การกรานกฐินเป็นธรรม ข้าพเจ้าขออนุโมทนา)
คำว่า อาวุโส นั้น ถ้ามีภิกษุอื่นซึ่งมีพรรษามากกว่าภิกษุผู้ครองกฐินแม้เพียงรูปเดียวก็ตาม ให้เปลี่ยนเป็น ภนฺเต
ต่อนั้น สงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ พร้อมกันแล้วให้ภิกษุทั้งปวง อนุโมทนาเรียงองค์กันไปทีละรูป ๆ ว่า "อตฺถตํ ภนฺเต สงฺฆสฺส กฐินฺ ธมฺมิโก กฐินตฺถาโร อนุโมทามิ" 3 จบสงฆ์ทั้งปวงรับว่า สาธุ ทำดังนี้ จนหมดภิกษุผู้ประชุมอนุโมทนา
(ถ้าผู้อนุโมทนา มีพรรษษแก่กว่าสงฆ์ทั่งปวง ให้เปลี่ยนคำว่า ภนฺเต เป็น อาวุโส)
ในการว่าคำอนุโมทนานี้พึงนั่งคุกเข่าประนมมือเสร้จแล้วจึงนั่งพับเพียงลง
เมื่อเสร็จแล้ว ให้นั่งพร้อมกันคุกเข่าประนมมือ หันหน้าตรงต่อพระพุทธปฏิมา ว่าพร้อมกันอีก 3 จบ แต่ให้เปลี่ยนคำว่า อนุโมทามิ เป็น อนุโมทาม เป็นอันเสร็จไปชั้นหนึ่ง
ต่อแต่นั้นกราบพระ 3 หน นั่งพับเพียบ สวดปาฐะและคาถาเนื่องด้วยกรานกฐิน จบแล้วก็เป็นเสร็จพิธีการกรานกฐินอานิสงส์กฐินสำหรับพระ

ในพระวินัย ระบุอานิสงส์กฐินไว้ 5 คือ

1. เข้าบ้านได้โดยมิต้องบอกลาภิกษุด้วยกัน
2. เอาไตรจีวรไปโดยไม่ครบสำรับได้
3. ฉันอาหารเป็นคณะโภชน์ได้
4. เก็บจีวรไว้ได้ตามปรารถนา
5. ลาภที่เกิดขึ้นเป็นของเธอผู้จำพรรษาในวัดนั้น

คำถวายผ้ากฐินอย่างมหานิกาย
อิมํ สปริวารํ กฐินจีวรทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม (ว่า 3 หน) แปลว่า "ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวรกับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์"
คำถวายผ้ากฐิน อย่างธรรมยุตติกนิกาย
อิมํ ภนฺเต สปริวารํ กฐินนทุสฺสํ สงฺฆสฺส โอโณชยาม สาธุ โน ภนฺเต สงฺโฆ อิมํ สปริวารํ กฐินทุสฺสํ ปฏิคฺคณฺหาตุ ปฏิคฺคเหตฺวา จ อิมินา ทุสฺเสน กฐินํ อตฺถรตุ อมฺหากํ ทีฆรตฺตํ หิตาย สุขาย
แปลว่า "ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายผ้ากฐิน พร้อมทั้งบริวารนี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย และครั้นรับแล้วขอจงกรานกฐินด้วยผ้านเพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน

ในการทอดกฐินนี้ ยังมีกฐินและข้อพิเศษที่ควรนำมากล่าวไว้ด้วย คือ 1. จุลกฐิน 2.ธงจระเข้
1. จุลกฐิน มีกฐินพิเศษอีกชนิดหนึ่ง เรียกว่าจุลกฐินเป็นงานที่มีพิธีมาก ถือกันว่ามาแต่โบราณว่า มีอานิสงส์มากยิ่งนัก วิธีทำนั้น คือเก็บผ้ายมากรอเป็นด้วย และทอให้แล้วเสร็จเป็นผืนผ้าในวันเดียวกัน และนำไปทอดในวันนั้น กฐินชนิดนี้ ต้องทำแข่งกับเวลา มีผู้ทำหลายคน แบ่งกันเป็นหน้าที่ ๆ ไป ในปัจจุบันนี้ไม่ค่อยนิยมทำกันแล้ว

"วิธีทอดจุลกฐินนี้ มีปรากฏในหนังสือเรื่องคำให้การชาวกรุงเก่าว่า บางทีเป็นของหลวงทำในวันกลางเดือน 12 คือ ถ้าสืบรู้ว่าวัดไหนยังไม่ได้รับกฐิน ถึงวันกลางเดือน 12 อันเป็นที่สุดของพระบรมพุทธานุญาตซึ่งพระสงฆ์จะรับกฐินได้ในปีนั้น จึงทำผ้าจุลกฐินไปทอด มูลเหตุของจุลกฐินคงเกิดแต่จะทอดในวันที่สุดเช่นนี้ จึงต้องรีบร้อนขวนขวายทำให้ทัน เห็นจะเป็นประเพณีมีมาเก่าแก่ เพราะถ้าเป็นเช่นหลังก็จะเที่ยวหาซื้อผ้าไปทอดได้หาพักต้องทอใหม่ไม่"  (จากวิธีทำบุญ ฉบับหอสมุด หน้า 119)
2. ธงจระเข ปัญหาที่ว่าเพราะเหตุไรจึงมีธงจระเข้ยกขึ้นในวัดที่ทอดกฐินแล้ว ยังไม่ปรากฎหลักฐาน และข้อวิจารณ์ อันสมบูรณ์โดยมิต้องสงสัย เท่าที่รู้กันมี 2 มติ คือ 1. ในโบราณสมัย การจะเดินทางต้องอาศัยดาวช่วยประกอบเหมือน เช่น การยกทัพเคลื่อนขบวนในตอนจวนจะสว่าง จะต้องอาศัยดาวจระเข้นี้ เพราะดาวจระเข้นี้ขึ้นในจวนจะสว่าง การทอดกฐิน มีภาระมาก บางทีต้องไปทอด ณ วัดซึ่งอยู่ไกลบ้าน ฉะนั้น การดูเวลาจึงต้องอาศัยดาว พอดาวจระเข้ขี้น ก็เคลี่อนองค์กฐินไปสว่างเอาที่วัดพอดี และต่อมาก็คงมีผู้คิดทำธงในงานกฐิน ในชั้นต้น ก็คงทำธงทิวประดับประดาให้สวยงานทั้งที่องค์กฐิน ทั้งที่บริเวณวัดและภายหลัง คงหวั่นจะให้เป็นเครื่องหมายเนื่องด้วยกรานกฐิน ดังนั้น จึงคิดทำธงรูปจระเข้ เสมือนประกาศให้รู้ว่าทอดกฐินแล้ว
2. อีกมติหนึ่งเล่าเป็นนิทานโบราณว่า ในการแห่กฐินในทางเรือของอุบาสกผู้หนึ่ง มีจระเข้ตัวหนึ่งอยากได้บุญจึงอุตส่าห์ว่ายตามเรือไปด้วย แต่ยังไม่ทันถึงวัดก็หมดกำลังว่ายตามต่อไปอีกไม่ไหว จึงร้องบอกอุบาสกว่า เหนื่อยนักแล้ว ไม่สามารถจะว่ายตามไปร่วมกองการกุศล วานท่านเมตตาช่วยเขียนรูปข้าพเจ้า เพื่อเป็นสักขีพยานว่าได้ไปร่วมการกุศลด้วยเถิด อุบาสกผู้นั้นจึงได้เขียนรูปจระเข้ยกเป็นธงขึ้นในวัดเป็นปฐม และสืบเนื่องมาจนบัดนี้

>> ประวัติของกฐิน <<

ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่)  

อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ

๑. เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
๒. เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
๓. ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
๔. เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ ไว้ได้
๕. ลาภที่เกิดขึ้น ให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้น ซึ่งได้กรานกฐินแล้ว

ที่กล่าวนี้เป็นประวัติของกฐิน ซึ่งเก็บความจากพระบาลี แต่ข้อความที่กล่าวข้างต้นนี้ยังเข้าใจยาก และไม่แลเห็นว่าเหตุผลเนื่องถึงกันอย่างไร ฉะนั้นจึงต้องอธิบายขยายความสักเล็กน้อย
ตามหลักวินัย ภิกษุจะเข้าบ้านต้องบอกลากัน จะเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบชุดเวลาฉันอาหารต้องนั่งเรียงกัน จะล้อมวงกันไม่ได้ จึงที่เหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน ลาภที่เกิดขึ้นต้องให้แก่ภิกษุผู้มีอาวุโส คือที่บวชนานที่สุด ข้อบังคับเหล่านี้ ย่อมเป็นความลำบากแก่ภิกษุทั้งหลายเป็นอันมาก เช่นการเข้าบ้านต้องบอกลากันเสมอไปนั้น ถ้าเผอิญอยู่คนเดียว ไม่มีใครจะรับลา ก็เข้าบ้านไม่ได้ การเดินทางต้องเอาไตรจีวรไปให้ครบ หมายความว่าต้องเอาผ้านุ่งห่มไปให้ครบชุด คือ สบง (ผ้านุ่ง) จีวร (ผ้าห่ม) สังฆาฏิ (ผ้าซ้อนผ้าห่ม) ในครั้งก่อน ภิกษุไม่มีโอกาสได้ผ้าบางเนื้อละเอียดอย่างสมัยนี้เสมอไป ถ้าไปได้ผ้าเปลือกไม้หรือผ้าอะไรชนิดหนา การที่จะนำเอาไปด้วยนั้นไม่เป็นการง่าย ภิกษุ ๓๐ รูปที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็ได้รับความลำบากในเรื่องนี้มาแล้ว การห้ามฉันอาหารล้อมวง และบังคับให้นั่งเรียงกันฉันอาหารนั้น ถ้ามีอาหารน้อยก็ทำความลำบาก เราทราบอยู่แล้วว่าการรับประทานแยกกันย่อมปลีกอาหารมากกว่าการรับประทานรวมกัน เรื่องนี้ภิกษุ ๓๐ รูป ที่เดินทางมาเฝ้าพระพุทธเจ้า ก็คงได้รับประสบความลำบากเรื่องนี้มา ในระหว่างทางเหมือนกัน เรื่องจีวรที่ไม่ต้องการใช้นั้น ในชั้นเดิมเป็นความมุ่งหมายของพระพุทธเจ้า ที่จะไม่ให้พระภิกษุเก็บสะสมทรัพย์สมบัติ ถ้ามีอะไรเหลือใช้ จะเก็บไว้ไม่ได้ ต้องให้คนอื่นเสีย โดยเฉพาะเรื่องจีวรนี้มีบัญญัติว่า ถ้ามีจีวรเหลือใช้เก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน พัน ๑๐ วันไปแล้วต้องสละให้คนอื่นไป ถ้าจะไม่สละต้องทำพิธี ๒ อย่าง อย่างหนึ่งเรียกว่า “วิกัป” คือไปทำความตกลงกับภิกษุอีกรูปหนึ่งให้เป็นเจ้าของจีวรด้วยกัน แล้วมอบให้ตนเก็บไว้ อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า “อธิษฐาน” คือถ้าจีวรที่เหลือใช้นั้นใหม่กว่าของที่ใช้อยู่ ก็เอามาใช้เสีย แล้วสละของเก่าให้คนอื่นไป การห้ามกวดขันไม่ให้เก็บผ้าจีวรไว้เกินต้องการเช่นนี้ ในบางครั้งก็เกิดความลำบากเช่น ถูกขโมยลักจีวร ซึ่งเคยถูกกันมามากในครั้งพุทธกาล หรือมีเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้จีวรนั้นใช้ไม่ได้ ก็ไม่มีสำรองเสียเลย ในเรื่องลาภที่เกิดขึ้นในวัดนั้น มีข้อบังคับกวดขันว่าให้ได้แก่ภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากที่สุด คือที่บวชก่อนคนอื่น ในเรื่องนี้ทำความเดือดร้อนหลายครั้ง เช่นภิกษุอยู่ในวัดเดียวกัน อดอยากมาด้วยกัน มีผู้เอาของมาถวาย และในวันที่มีผู้เอาของมาถวายนั้น เผอิญมีภิกษุจรมาพักอยู่ในวัดนั้นด้วย และภิกษุจรมีพรรษายุกาลมากกว่าภิกษุที่อยู่ในวัด ลาภนั้นก็ต้องตกเป็นของภิกษุที่จรมา ส่วนภิกษุที่อยู่ในวัดก็ไม่มีส่วนได้
ความขัดข้องลำบากเกิดจากทางวินัยอย่างนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงเห็นมานานแล้ว แต่วินัยของพระพุทธเจ้าไม่เหมือนกฎหมาย คือกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้ว ถ้ารู้สึกว่าไม่ดีก็ประกาศเลิก และบัญญัติใหม่ ส่วนวินัยของพระพุทธเจ้าประกาศเลิกไม่ได้ ได้แต่งดชั่วคราว หรือมีข้อยกเว้นพิเศษให้ เมื่อได้ทรงเห็นความลำบากของภิกษุที่มาเฝ้า ทรงเห็นชัดว่าควรให้ความยกเว้นในเรื่องหอบหิ้วเอาไตรจีวรมา และทรงยกเว้นในข้อนี้ ก็เลยทรงประทานข้อยกเว้นอื่น ๆ ที่ทรงดำริมาแล้วแต่ก่อนด้วย จึงเกิดมีข้อยกเว้นขึ้น ๕ ข้อดังกล่าวมาข้างต้น
แต่การที่งดใช้วินัยชั่วคราว หรือให้ความยกเว้นเป็นพิเศษนั้น จะให้กันเฉยๆ ไม่ได้ พระภิกษุต้องได้ทำความดีอันใดอันหนึ่ง จึงจะได้รับความยกเว้น ฉะนั้นการที่จะให้ภิกษุได้รับความยกเว้นในข้อนี้ พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้มีพิธีกรานกฐิน พิธีกรานกฐินต้องถือเป็นความดีความชอบอย่างหนึ่ง เพราะการทำจีวรในสมัยนั้นไม่ใช่ของง่าย ๆ ตามปกติเวลามีการทำจีวร ภิกษุย่อมได้รับความยกเว้นในวินัยหลายข้ออยู่แล้ว เมื่อต้องมาทำจีวรโดยรีบร้อนให้เสร็จในวันเดียว และตกเป็นสมบัติของคณะสงฆ์อีกเช่นนี้ ก็ควรเป็นความชอบที่พึงได้รับความยกเว้น

แนะนำ >> วัดป่าเลไลยก์ อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี



วัดป่าเลไลยก์  อำเภอเมือง
   
กล่าวกันเสมอมาว่า ถ้ามาเมืองสุพรรณ แล้วไม่ได้แวะมากราบไหว้หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ ก็เหมือนมาไม่ถึงเมืองสุพรรณ ด้วยที่วัดป่าเลไลยก์เป็นวัดสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสุพรรณ เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นสถานที่หนึ่งในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้าง-ขุนแผน ในช่วงวันหยุดจะมีผู้คนมากมายมากราบไหว้ขอพร และยิ่งเป็นวันหยุดยาว จะเป็นที่ที่คนนิยมมากเป็นอันดับต้นๆของจังหวัดสุพรรณ
   ถ้าหากมีโอกาสมาเมืองสุพรรณ สถานที่แรกที่ไม่ควรผ่านเลย... แวะชมความงดงามขอหลวงพ่อโต และกราบไหว้เพื่อเป็นศิริมงคล
ประวัติวัดป่าเลไลยก์ 
   เป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีอายุราว 1200 ปี ตั้งอยู่ริมถนนมาลัยแมน ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมือง
อยู่ทางฝั่งตะวันตกของลำน้ำสุพรรณ ห่างจากศาลากลางจังหวัด ประมาณ 4 กิโลเมตร
ชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า
วัดป่า ภายในวิหาร เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโต ปางป่าเลไลยก์
   ในพงศาวดารเหนือกล่าวว่า ...พระเจ้ากาเตทรงให้มอญน้อย มาบูรณะวัดป่าเลไลยก์ ภายหลังปี พ.ศ. 1724 เล็กน้อย 
หลวงพ่อโต เป็นพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ศิลปะสมัยอู่ทอง สุพรรณภูมิ (คือประทับนั่งห้อยพระบาท)  มีนักปราชญ์หลายท่านว่า เดิมคงเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา สร้างไว้กลางแจ้งอย่างพระพนัญเชิงสมัยแรกต่อมาได้มีการบูรณะ ซ่อมแซมใหม่ และทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ภายในองค์พระพุทธรูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ 36 องค์ ที่ได้มาจากพระมหาเถรไลยลาย



   วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร ตำบลรั้วใหญ่ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสุพรรณบุรี ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำสุพรรณบุรี หรือท่าจีน ห่างจากฝั่งประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เนื้อที่กว้าง 82 ไร่ 1 งาน มีโบราณสถานอันเป็นประธานของวัด คือ พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ซึ่งเรียกกันว่า “ หลวงพ่อโตวัดป่าไลไลยก์”

   ตามหลักฐานเดิมสันนิษฐานกันว่า มีอายุในราวสมัยอู่ทอง เนื่องด้วยขณะนั้น ยังไม่ได้มีการศึกษาค้นคว้า จึงเชื่อกันอย่างนั้นเรื่อยมา เมื่อมีการศึกษาค้นคว้าในระยะหลังๆ ทำให้ทราบได้ว่า วัดป่าเลไลยก์น่าจะมีอายุไม่น้อยกว่า 1000 ปีขึ้นไป โดยมีหลักฐานต่างๆ จากโบราณวัตถุเป็นข้อสนับสนุน อ้างอิง เพียงพอที่จะตั้งเป็นสมมติฐานใหม่ขึ้นได้

   หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ เป็นพระก่ออิฐถือปูนขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 23.47 เมตร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีลายพระหัตถ์ถึงศาสตราจารย์หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยศิลปากรว่า “พระพุทธรูปป่าเลไลยก์ เป็นของเก่าก่อนวัตถุอื่น ลักษณะทันสมัยอู่ทอง และสร้างเป็นพระพุทธรูปปางแสดงพระธรรมจักรเหมือนอย่างพระประทานที่พระปฐมเจดีย์ มีกุฏิครอบเฉพาะองค์พระ มาร้างวิหารต่อชั้นหลัง ส่วนองค์พระนั้นเคยชำรุดถึงพระกรหักหาย คนชั้นหลังปฏิสังขรณ์ เมื่อมีความรู้เรื่องพระแสดงปฐมเทศนาสูญเสียแล้วจึงทำเป็นปางป่าเลไลยก์ ความกล่าวในข้อนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยพระกรเล็กกว่ากันเกือบข้างหนึ่ง และซุ้มเดิมที่สร้างวิหารก็ยังปรากฏอยู่ “

   ตามที่กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงพระวินิจฉัยว่า หลวงวัดป่าเลไลยก์ มีอายุทันสมัยอู่ทองนั้นมีความจริงอยู่บ้าง โดยความเป็นจริงแล้วอาจจะสูงกว่าสมัยอู่ทองขึ้นถึงสมันลพบุรีและทวารวดีเสียด้วยซ้ำไป เมื่อ พ.ศ . 1706 พระเจ้ากระแต ผู้ซึ่งมีเชื้อสายนเรศวรหงสาววดีพาไพรพลมาครองราชย์ที่เมืองพันธุมบุรี ได้ให้มอญน้อยเป็นเชื้อสายพระวงศ์ของพระองค์ ไปสร้างวัดสนามไชยแล้วมาบูรณะ วัดป่าเลไลยก์ในวัดลานมะขวิด แขวงเมืองพันธุมบุรี เมื่อข้าราชการบูรณะวัดแล้วพากันออกบวชเสียสิ้นสองพันคน จึงขนานนามเมืองใหม่ว่า “เมืองสองพันบุรี” พระเจ้ากาแตอยู่ในราชสมบัติ 40 ปี สวรรคต พ.ศ.1741 ซึ่งในช่วงนี้อยู่ในสมัยลพบุรี

   โดยพุทธลักษณะของหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์แล้ว พระพักตร์มีเค้าเป็นศิลปะอู่ทองกลาย ๆ เพราะพระหนุ (คาง) เป็นเหลี่ยม ความเป็นจริงแล้วพระหนุเป็นเหลี่ยม นี่ส่อเค้าให้เห็นว่าได้รับอิทธิพลถ่ายทอดมาจากศิลปะทวารวดี

   หลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ได้รับการบูรณะถึง 3 ครั้ง ครั้งแรก เมือ พ.ศ.1706 โดยมอญน้อย ครั้งที่ 2 ในสมัยอยุธยาตอนปลาย สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์ อมรินทร์ ในราชกาลที่ 3 กษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ทรงปโปรดให้พระยาสีหราชเดโชไชย ไปสร้างวิหารวัดป่าเลไลยก์ ครั้งที่ 3 ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้พระยานิกรบดินทร์ มาบูรณะปฏิสังขรณ์

   การบูรณปฏิสังขรณ์ในราชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์นั้น อันสืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะที่ยังไม่ได้ครองราชย์ พระองค์ทรงผนวชเสด็จธุดงค์มาจังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อนมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลกย์ ทรงพบเห็นวัดป่าเลไลยก์รกร้าง ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา และปกครองวัด จึงทำให้สภาพของวัดป่าเลไลยก์เสื่อมโทรมมาก เมื่อเข้านมัสการหลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ แล้วทรงอธิษฐานว่า ถ้าหากได้ขึ้นครองราชย์เมื่อไดก็จะมาบูรณะปฏิสังขรณ์ถวาย เมื่อพระองค์ขึ้นครองราชย์ในช่วงของการครองราชย์ โปรดเกล้าให้พระยานิกรบดินทร์มาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดป่าเลไลยก์ โดยขุดคลองตั้งแต่วัดประตูสาร ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสุพรรณ ล่องแพซุงเข้าไปจนถึงวัดป่าเลไลยก์ สร้างหลังคาข้างละสองชั้น ทำฝาผนังรอบนอก รวมหลังคาพระวิหาร ข้างละ 5 ชั้น พร้อมซ่อมองค์หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์ด้วย สร้างพระพุทธรูปไว้อีก 2 องค์ อยู่ในวิหารเบื้องหน้าหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์ทั้งซ้ายและขวา ประดิษฐานตราพระมงกุฏอยู่ที่หน้าบันพระวิหารเป็นเครื่องหมาย

http://www.watpasuphan.com

ภาพเขียนเรื่องราว ขุนช้าง-ขุนแผน
รอบๆ วิหารของหลวงพ่อโต มีจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องราวของขุนช้าง-ขุนแผน
ตั้งแต่เริ่มเรื่อง จนถึงตอนสุดท้าย เป็นภาพที่สวยงาม และได้ความรู้
ชมภาพบางส่วนได้ที่ นิทาน ขุนช้าง-ขุนแผน
วัดป่าเลไลยก์ มีความเกี่ยวข้องกับวรรณคดีอันลือชื่อของไทย  คือ เสภาขุนช้างขุนแผน   
นิราศเมืองสุพรรณของสุนทรภู่  ปัจจุบัน
วัดป่าเลไลยก์ มีสถานะเป็น
พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร


เรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทยแบบโบราณ ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดป่าเลไลยก์ สร้างเป็นเรือนไทยไม้สักหลังใหญ่กว้างขวาง ตามเรือนของขุนช้างในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ขึ้นไปบนเรือนจะเห็นภาพวาดตัวละครขุนช้าง นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปเป็นที่ระลึก แต่ละห้องจะมีภาพบรรยายเล่าเรื่องขุนช้างขุนแผน มีการจัดแสดงเครื่องใช้ต่างๆในสมัยก่อน มีการตกแต่บริเวณโดยรอบสวยงามน่าเที่ยวชม เสภาขุนช้างขุนแผน  เมื่อนางทองประศรี พาพลายแก้วไปอยู่เมืองกาญจน์เก็บหอมรอมริบ
จนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐี และเมื่อพลายแก้วเติบโตก็ได้บรรพชาเป็นสามเณรและได้มาเรียนคาถาอาคม พร้อมกับเทศน์มหาชาติ กับสมภารมีแห่งวัดป่าเลไลยก์   
เพื่อเป็นการอนุรักษ์เรื่องราวดีๆ   ทางวัดป่าเลไลยก์ได้จัดให้มีเทศน์มหาชาติขึ้นเป็นประจำทุกปี และสร้างเรือนขุนช้าง เป็นเรือนไทย ไม้สัก เพื่อให้ลูกหลานได้ทัศนศึกษาสืบต่อไป

    ภายในบริเวณวัด ยังเป็นศูนย์รวมจำหน่ายสินค้าพื้นเมืองของเมืองสุพรรณ ปลาสลิดดอนกำยาน ปลาแม่น้ำ ปลาแดดเดียว พืชผักผลไม้ และน้ำพริกก็มีให้เลือกหลากหลายชนิด ราคาคาถูก
 By: http://www.suphan.biz/Watpalalai.htm

บทสวดมนต์ก่อนนอน สำหรับฝึกจิต สร้างสมาธิ เพื่อจิตใจที่ผ่องใส

บทสวดมนต์ก่อนนอน สำหรับฝึกจิต สร้างสมาธิ เพื่อจิตใจที่ผ่องใส


          บท สวดมนต์ก่อนนอน สำหรับฝึกจิต สร้างสมาธิ ก่อนนอน แนะนำ อ่าน  บทสวดมนต์ก่อนนอนที่ถูกต้อง บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ สร้างสมาธิ เพื่อจิตใจที่ผ่องใสก่อนนอน

          บทสวดมนต์ไม่ว่าบทใดก็มีอานุภาพในตัวเองมากมายหลายประการ นอก จากจะสอดแทรกแง่คิดดี ๆ ในการดำรงชีวิตแล้ว หากผู้สวดสามารถตั้งจิตให้จดจ่อแน่วได้ การกระทำดังกล่าวย่อมส่งผลดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ที่ช่วยให้ผู้สวดสามารถพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ได้อย่างละเอียดรอบคอบและใจเย็นมากยิ่งขึ้น

          สำหรับ ผู้ที่กำลังมองหาบทสวดมนต์ก่อนนอน วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากแล้วค่ะ ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยนะคะ ก่อนอื่นใช้สองมือประนมแล้วทำจิตให้สงบ จากนั้นให้ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงค์ หรือตั้งจิตตามแต่บทสวดมนต์ ดังนี้

บทสวดมนต์ก่อนนอน

          อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ (กราบ 1 ครั้ง)

          สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ (กราบ 1 ครั้ง)

          สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ (กราบ 1 ครั้ง)

          พุทธะบูชา มะหาเตชะวันโต
          ข้าพเจ้าขอบูชาพระพุทธ ขอให้ข้าพเจ้ามีเดชเดชะ

          ธัมมะบูชา มะหาปัญญะวันโต
          ข้าพเจ้าขอบูชาพระธรรม ขอให้ข้าพเจ้ามีปัญญาอันยิ่งใหญ่

          สังฆะบูชา มะหาโภคะวะโห
          ข้าพเจ้าขอบูชาพระสงฆ์ ขอให้ข้าพเจ้าอุดมด้วยอริยสมบัติ

          ติโลกะนาถัง ระตะนัตตะยัง อะภิปูชะยามิ
          ข้าพเจ้าขอบูชาพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นที่พึ่งของโลกทั้งสาม (31 ภพภูมิ)

          วันทามิเจติยัง สัพพัง สัพพัฏฐาเน สุปติฏฐิตัง สารีริกะธาตุ
          ขอบูชากราบไหว้พระสถูปซึ่งประดิษฐานพระบรมสารีริกะธาตุตามที่ต่าง ๆ

          มะหาโพธิง ชินะโยจะ พุทธะรูปัง สะกะลังสะทา
          ขอบูชากราบไหว้พระพุทธรูปทุกพระองค์และต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้


บทสวดมนต์บูชาพระภูมิเจ้าที่

          ทิสาทิโส เอหิภูมิโม อมมะภูมิมา อาคัจฉันตุ
          ข้าพเจ้าขอสักการะบูชาพระภูมิเจ้าที่พระแม่ธรณีและพระแม่คงคา ทุกทิศทุกทางทั่วสากลภิภพ


บทสวดมนต์ผูกมิตรกับมนุษย์ เทวดา และสัตว์ทั้งปวง

          มนุสสานัง สะหะยัง ปิโยเทวา สีหะราชา เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ
          ขอมนุษย์ทั้งหลายองค์เทพเทวาทั้งหลาย สัตว์ใหญ่น้อยทั้งหลายจงมีจิตที่เป็นมิตรสามัคคีกับข้าพเจ้าด้วยเทอญ


บทสวดมนต์แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทุกเวลาทุกสถานที่

          สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
          สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย

          สุขี โหนตุ
          จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด

          อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
          จงอย่าพยาบาทเบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

          อะนีฆา โหนตุ
          จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย


บทสวดมนต์แผ่เมตตาให้ตนเอง

          อะหัง สุขิโต โหมิ
          ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข

          อะหัง นิททุกโข โหมิ
          ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์

          อะหัง อะเวโร โหมิ
          ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร

          อะหัง อัพพะยาปัชโฌ โหมิ
          ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง

          สุขี อัตตานัง ปริหะรามิ
          ขอให้ข้าพเจ้าจงมีสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ รักษากาย วาจา ใจ ให้พ้นจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด

          ทั้งนี้ การสวดมนต์ไม่มีถูก ไม่มีผิด ดังนั้นจึงไม่ต้องคำนึงว่า บทสวดมนต์ก่อนนอนที่ถูกต้องจะเป็นอย่างไร ส่วน ผู้ที่อยากได้บทสวดมนต์ก่อนนอนสั้น ๆ หรือบทสวดมนต์ก่อนนอนแบบย่อ เนื่องจากมีเวลาจำกัด ก็อาจเลือกสวดเพียงบางบทจากหัวข้อทั้งหมดที่นำเสนอในข้างต้นนี้ได้ทันที

          อย่าง ไรก็ตาม บทสวดมนต์ดังกล่าว ยังสามารถนำมาสวดในช่วงเช้าได้อีกด้วย ดังนั้นใครที่อยากทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส เพื่อรับมือกับเช้าวันใหม่ด้วยสิ่งดี ๆ ก่อนออกจากบ้าน ก็ลองนำบทสวดมนต์ดังกล่าวไปใช้กัน

วันพระ (วันธรรมสวนะ)

# วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ #

 


วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หรือ วันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำ สัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือศีลฟังธรรม (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทินจันทรคติ โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)

วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมาพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยว กับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดัง กล่าว โดยตามพระไตรปิฎกเรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี

หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น ศรีลังกา, พม่า, ไทย, ลาว และเขมร (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อ ทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือศีลแปดหรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวัน อื่น

ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่าง  จากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ

นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า วันโกน เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้


การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญ
การเตรียมตัวไปวัดเพื่อทำบุญต้องเตรียมความพร้อม องค์ประกอบ ๓ ประการคือ

๑.การเตรียมกาย
ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสีขาวเรียบ หรือสีที่ ไม่ฉูดฉาด ไม่หลวมไม่คับเกินไป เนื่องจากจะไม่คล่องตัว ไม่ประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับ ไม่ใช้เครื่องประทินผิว เช่น น้ำหอม เป็นต้น รับประทานอาหารแต่พอดี ไม่อิ่มจน อึดอัด เพื่อประทังความหิว เนื่องจากหากมีอาการหิว กระหายจะทำให้จิตใจไม่สบายไปด้วย ควรงดเว้นอาหาร ที่อาจจะทำให้เกิดอาการท้องเสีย เป็นต้น

๒.การเตรียมใจ
ให้ตัดความวิตกกังวลที่จะเกิดขึ้น เช่น เรื่อง ครอบครัวเรื่องการงานเป็นต้น

๓.การเตรียมสิ่งของ
ให้จัดเตรียมดอกไม้ธูปเทียนเพื่อบูชาพระ อาหาร หวานคาว รวมถึงสิ่งของอื่น ๆ (ปัจจัยไทยธรรม) เพื่อไป ถวายพระสงฆ์ตามกำลังและความศรัทธา
ขั้นตอนในการปฏิบัติกิจกรรม

การปฏิบัติกิจกรรมในการทำบุญของแต่ละวัด อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียด แต่หลักปฏิบัติโดยส่วนใหญ่แล้วทุกวัดจะปฏิบัติเหมือนกันคือ

๑. การทำวัตรสวดมนต์ (พระสงฆ์จะทำวัตร สวดมนต์ก่อน เมื่อพระสงฆ์ทำวัตรสวดมนต์จบแล้ว อุบาสกอุบาสิกาจึงทำวัตรสวดมนต์ต่อจากพระสงฆ์ บางวัดอาจจะสวดมนต์แปล แต่บางวัดอาจจะสวดมนต์เป็นล้วน ๆไม่สวดแปลให้ทำตามธรรมเนียมของวัดนั้นๆ)

๒. การรับศีล ในวันธรรมดาโดยทั่วไปจะสมาทานศีล ๕ ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) จะสมาทานอุโบสถศีลหรือศีลอุโบสถมี ๘ ข้อ

๓. การฟังธรรม

๔. การบำเพ็ญจิตภาวนา                                                                           

๕. การถวายสังฆทาน

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์


พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
  
ประกอบด้วยพระบรมราชานุสาวรี ย์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงพระคชาธารออกศึกและองค์เจดีย์ยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงสร้างเจดีย์ขึ้น เพื่อเฉลิมฉลองชัยชนะในสงครามยุทธหัตถี ที่ทรงมีต่อพระมหาอุปราชาแห่งพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2134
   ภายในองค์เจดีย์ได้มีการสร้างห้องแสดงประวัติศาสตร์ ทั้งภาพแสงสีเสียง  และหุ่นจำลองการยกทัพของพม่าและไทย หลายร้อยตัว เป็นสถานที่ได้ทั้งความรู้และเพลิดเพลิน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ ปัจจุบัน ได้เสด็จทรงประกอบพิธีบวงสรวง และเปิดพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์
   กองทัพบกได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์เจดีย์ขึ้นใหม่  โดยสร้างเป็นเจดีย์แบบลังกาทรงกลมใหญ่ สูง 66 เมตร  ฐานกว้างด้านละ 36 เมตร  ครอบเจดีย์องค์เดิม 


   สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงพระราช สมภพเมื่อเดือน 1 ขึ้น 1 ค่ำ ปีเถาะ พ.ศ. 2098 ณ พระราชวัง จันทรเกษม จังหวัดพิษณุโลก เป็นพระโอรสองค์ที่ 2 แห่งสมเด็จพระมหาธรรมราชา และสมเด็จพระวิสุทธิกษัตรี อันเป็นพระราชธิดาแห่งสมเด็จพระศรีสุริโยทัย และพระมหาจักรพรรดิ์ พระองค์ทรงมีพระเชษฐภคินีคือ สมเด็จพระศรีสุพรรณกัลยาณี และพระอนุชาสมเด็จพระเอกาทศรถ
   ครั้งเมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก หงสาวดีบุเรงนองได้นำสมเด็จพระนเรศวรไปยังหงสาวดีเพื่อเป็นตัวประกัน ขณะเมื่อทรงมีพระชันษาได้เพียง 8 พระชันษา ครั้นหงสาวดีบุเรงนองสิ้นพระชนม์ หงสาวดีนันทบุเรง ขึ้นครองราช ทรงมีพระโอรสองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า มังรายกะยอชะวา (ต่อมาได้สถาปนาเป็น พระมหาอุปราชา) ซึ่งมีนิสัยเย่อหยิ่ง ครั้งหนึ่งมังรายกะยอชะวาเอาไก่ชนมาชนกับไก่ของสมเด็จพระนเรศวรแล้วแพ้ จึงกล่าวกับพระนเรศวรว่า " อ้ายไก่เชลยที่พลัดบ้านเมืองมา ไม่ครนามือกู"  พระนเรศวรจึงตรัสตอบว่า "แม้เป็นไก่เชลย แต่ไก่ตัวนี้อย่าว่าแต่ตีเพื่อความสนุกเลย เดิมพันเอาบ้านเอาเมืองก็ยังได้"
   สมเด็จพระนเรศวรทรงเจริญพระชันษาในราชสำนักหงสาวดี พร้อมกับฝีมือการต่อสู้ที่กร้าวแกร่ง ต่อมาพระศรีสุพรรณกัลยาณีได้เสียสละอย่างสูงสุด เดินทางไปถวายตัวกับพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรง เพื่อแลกตัวสมเด็จพระนเรศวรกลับยังกรุงศรีอยุธยา ครั้งหนึ่งพระเจ้าหงสาวดีนันทบุเรงได้เรียกให้พระนเรศวรยกทัพไปร่วมทัพที่กรุงหงสาวดี เพื่อจะไปตีเมืองอังวะ แต่ได้ออกอุบายให้ พระยาเกียรติพระยาราม สองขุนศึกมอญลอบปลงพระชนม์ แต่พระยาเกียรติพระยารามได้นำความไปเล่าให้ พระมหาเถรคันฉ่องซึ่งเป็นพระอาจารย์ฟัง พระมหาเถรจึงนำพระยาเกียรติพระยารามเข้าเฝ้ากราบทูลเรื่องราวแก่ สมเด็จพระนเรศวร พระองค์ทรงมีปฐมบรมราชโองการประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแครง ว่า "กูสมเด็จพระนเรศวร ขอประกาศความเป็นอิสระภาพ ไม่ขึ้นกับหงสาวดีอีกต่อไป"
   หงสาวดีนันทบุเรงทรงพิโรธ สั่งให้สุกรรมา นายทัพคู่ใจ ออกไปสกัดทัพไว้ที่แม่น้ำสะโตง สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงปืนยิงสุกรรมาเสียชีวิตบนหลังช้าง ทรงพระราชทานนามพระแสงปืนนั้นว่า "พระแสงปืนต้นข้ามแม่น้ำสะโตง" 
   ในปี พ.ศ. 2133 พระมหาธรรมราชาเสด็จสวรรคต หงสาวดีนันทบุเรงถือเป็นโอกาส จึงสั่งให้พระมหาอุปราชาให้ยกทัพมาตีกรุงศรี แต่ก็ต้องพ่ายแพ้กลับไป จนปี พ.ศ. 2135 พระมหาอุปราชา และ มังจาชโร (พระเจ้าแปร) ได้ยกทัพเข้ามาตีกรุงศรีทางด่านเจดีย์สามองค์ ครั้นถึงบ้านพนมทวน เกิดลมพัดฉัตรเหนือพระเศียรหักลง ซึ่งในคืนวันเดียวกับที่สมเด็จพระนเรศวร ตั้งทัพอยู่ที่ทุ่ง ต.ม่วงหวาน แขวงวิเศษชัยชาญ ทรงสุบินว่า มีสายน้ำหลากมาจากทิศตะวันตก มีพระยากุมภีร์ตัวใหญ่ว่ายตามน้ำมาเข้าทำร้าย พระองค์ทรงใช้พระแสงดาบคู่มือฟันแทงจนถึงแก่ความตาย 
   สมเด็จพระนเรศวรสั่งเคลื่อนพล 100,000 นายขึ้นไปตั้งทัพที่ หนองสาหร่าย เมืองสุพรรณ ให้พระยาศรีไสยณรงค์เป็นทัพหน้า ตั้งทัพที่ดอนเผาข้าว เกิดปะทะกับทัพของพม่า และพ่ายถอยร่นมายังกองทัพของสมเด็จพระนเรศวร ทัพของสมเด็จพระนเรศวรเข้าช่ายจนเกิดฝุ่นตลบ ครั้นฝุ่นหายไป สมเด็จพระนเรศวรก็ตกอยู่ในวงรอมของกองทัพพม่า  พระองค์จึงตรัสแก่พระมหาอุปราชาให้ร่วมทำการยุธหัตถี "
   ขอพระเจ้าพี่ได้ทำการยุทธหัตถี ด้วยการยุทธเยี่ยงนี้จักไม่บังเกิดขึ้นอีกต่อไป " พลายพัทธกอ (ช้างของพระมหาอุปราชา) ได้ล่างรุนแบกพลายไชยยานุภาพ (ช้างสมเด็จพระนเรศวร) พระมหาอุปราชาเงื้อพระแสงของ้าวฟันถูกปีกพระมาลาของ สมเด็จพระนเรศวรขาดกระเด็น (ทรงพระราชทานนามว่า พระมาลาเบี่ยง ครั้นพลายไชยยานุภาพได้ทีรุนพลายพัทธกอเท้าหน้าลอยขึ้น สมเด็จพระนเรศวรทรงใช้พระแสงง้าวฟันกระดูกพระพาหาขาดลงไปถึงพระอุระ (อก) ผ่านพระอุทรออกทางพระปรัศว์ (สีข้าง) อีกข้างหนึ่งสิ้นพระชนม์
   ส่วนพระเอกาทศรถทรงช้างพระยาปราบไตรจักร ก็มีชัยต่อมังจาชโร (พระเจ้าแปร) ช้างพระที่นั่งไชยยานุภาพ พระราชทานนามใหม่ว่า "เจ้าพระยาปราบหงสาวดี " รับสั่งให้สร้างสถูปขึ้นที่พระองค์ทรงทำยุทธหัตถี พระราชทานนามว่า "เจดีย์ยุทธหัตถี" ณ ตำบลท่าคอย (ปัจจุบันเป็นตำบลดอนเจดีย์) เมื่อปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระนเรศวรทรงยกทัพไปต่อสู้กับพระเจ้าอังวะ ทรงตั้งค่ายที่เมืองหาง ทรงพระประชวรเป็นพระยอดพิษที่พระนลาฏ และเสด็จสวรรคตที่ เมืองหาง เมื่อวันจันทร์ เดือน 6 ขึ้น 8 ค่ำ ปีมะเส็ง พระชันษา 50 พรรษา รวมเวลาเสวยราชสมบัติเป็นเวลา 15 ปี

พระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช



















by  :  http://www.suphan.biz/Donjeade

ธรรมโอวาท“วันแม่แห่งชาติ”



วันนี้ (5ส.ค.) สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วงวรปุญฺโญ) ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีธรรมโอวาทเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 สิงหาคม 2557 ใจความว่า วันที่ 12สิงหาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญยิ่งของปวงชนชาวไทย เพราะเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ และทางราชการได้ประกาศให้เป็นวันแม่แห่งชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรม ราชินีนาถทรงเป็นที่รัก เคารพ เทิดทูนของพสกนิกรปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจเพื่อประโยชน์แก่ประเทศชาติ และพระศาสนาเป็นเอนกประการพระองค์เป็นคู่พระบารมีแห่งสมเด็จพระบรมบพิตรพระ ราชสมภารเจ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ทรงร่วมสุขร่วมทุกข์ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไป ทั่วทุกหนแห่งบนแผ่นดินไทยนี้ ทรงเปี่ยมด้วยพระราชศรัทธาปสาทะทรงสดับพระธรรมเทศนาในพระอารามต่างๆอยู่ เนืองนิตย์ ทรงสละพระราชทรัพย์สร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ ณ จังหวัดกาญจนบุรี อันเป็นที่ประจักษ์อยู่
ดัง นั้น เมื่อถึงวันที่ 12สิงหาคมของทุกปี อันเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพสกนิกรปวงชนชาวไทย จึงมีความโสมนัสจัดพิธีถวายพระพรชัยมงคลเป็นการใหญ่ทั่วทั้งราชอาณาจักร น้อมถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
เมื่อ กล่าวถึงคำว่า “แม่” ไม่ว่าจะเป็นคำพูดของมนุษย์ชาติใด ภาษาใด เป็นคำศักดิ์สิทธิ์ มีมนต์ขลัง มีความหมายกินใจอย่างลึกซึ้งมากที่สุด เพราะทุกคนย่อมมี “แม่”เป็นผู้ให้กำเนิด ในทางพระพุทธศาสนาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงยกย่อง และทรงตอบแทนพระคุณของพระมารดา ด้วยการนำธรรมะที่สูงที่สุดที่พระองค์ทรงค้นพบไปโปรดพระมารดาบนสวรรค์ ให้พระมารดาได้รับสิ่งที่ดีที่สุด เป็นแบบอย่างอันงดงามแก่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย
ขอเชิญชวนสาธุชนทั้ง หลายได้รำลึกถึงพระคุณอันยิ่งใหญ่ของแม่ แล้วปรนนิบัติดูแลแม่อย่าให้ขาดตกบกพร่อง ทำดีให้แม่ภูมิใจ ชวนแม่สร้างความดีร่วมกันเพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และนับตั้งแต่วันนี้ขอให้ท่านทั้งหลายระลึกถึงแม่ทุกวัน ชวนกันรักษาศีล 5ให้ครอบครัวมีความสุข นำพาสังคม และประเทศชาติไปสู่ความปรองดองสมานฉันท์ และสันติสุข โดยทั่วกันเทอญ ขอถวายพระพร.

By  :   www.dailynews.co.th/Content/education/257399/